กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่ง
ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ
ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด
เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ
ได้ง่ายขึ้น
คำประพันธ์
ที่ต่อท้ายว่า "สุภาพ" นับว่าเป็นคำประพันธ์ที่แสดงลักษณะเป็นไทยแท้
ด้วยมีข้อบังคับในเรื่อง "รูปวรรณยุกต์"
ในกลอนสุภาพนอกจากมีบังคับเสียงสระเป็นแบบแผนเช่นกลอนปกติแล้ว
ยังบังคับรูปวรรณยุกต์เพิ่ม จึงมีข้อจำกัดทั้งรูปและเสียงวรรณยุกต์ เป็นการแสดงไหวพริบปฏิภาณและความแตกฉานในการใช้ภาษาไทยของผู้แต่งให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
คำประพันธ์กลอนสุภาพนิยมเล่นกันมากตั้งแต่สมัยอยุธยา
จวบจนถึงปัจจุบัน ในต้นรัตนโกสินทร์นั้นงานกลอนสุภาพเด่นชัดในรัชกาลที่ 2 ซึ่งเฟื่องฟูถึงขนาดมีการแข่งขันต่อกลอนสด กลอนกระทู้
ตลอดรัชสมัยมีผลงานออกมามากมาย เช่น กลอนโขน กลอนนิทาน กลอนละคร กลอนตำราวัดโพธิ์
เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า ก็เกิดขึ้นในยุคนี้
ยังมีกวีท่านอื่นที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ 6
ก็มีปราชญ์กวีทางกลอนสุภาพที่สำคัญหลายท่านเช่นกัน
ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 8 พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งค้นพบกันว่าจังหวะและลีลาลงตัวที่สุด จึงมีคนแต่งแบบนี้มากที่สุด
และผู้ที่ทำให้กลอน 8 รุ่งเรืองที่สุดคือท่าน สุนทรภู่ ที่ได้พัฒนาเพิ่มสัมผัสอย่างเป็นระบบ
ซึ่งใกล้เคียงกับกลบทมธุรสวาทีในกลบทศิริวิบุลกิตติ์
กลอนแปด นั้นถือว่าเป็นขนบกวีนิพนธ์พื้นฐานที่นิยมที่สุดในไทย
เหตุเพราะมีฉันทลักษณ์ที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน สามารถแสดงอารมณ์ได้หลากหลาย
และคนทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อความได้ไม่ยาก หนึ่งในรูปแบบของกลอนแปดก็คือ
รูปแบบกลอนแปดของสุนทรภู่ ซึ่งความแพรวพราวด้วยสัมผัสใน
และขนบดังกล่าวนี้ก็ได้รับการสืบทอดต่อมาในงานกวีนิพนธ์ยุคหลังๆ กระทั่งปัจจุบัน
คณะ กลอนแปด บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 8 คำ ตามผัง
O O O O O O O
O
|
O O O O O O O
O
|
|
O O O O O O O
O
|
O O O O O O O
O
|
สัมผัสนอก ให้มีสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายวรรคหน้ากับคำที่สามของวรรคหลังของทุกบาท
และให้มีสัมผัสระหว่างบาทคือคำสุดท้ายของวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม
ส่วนสัมผัสระหว่างบท กำหนดให้คำสุดท้ายของบทแรก
สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สองของบทถัดไป
สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่หากจะให้กลอนสละสลวยควรมีสัมผัสระหว่างคำที่สามกับคำที่สี่
หรือระหว่างคำที่ห้ากับคำที่หกหรือคำที่เจ็ดของแต่ละวรรค
หลักการใช้เสียงวรรณยุกต์
·
คำสุดท้ายของวรรคที่
๑ ใช้เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
·
คำสุดท้ายของวรรคที่
๒ ห้ามใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี นิยมใช้เสียง จัตวา เป็นส่วนมาก
·
คำสุดท้ายของวรรคที่
๓ ห้ามใช้เสียง เอก โท จัตวา นิยมใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี
·
คำสุดท้ายของวรรคที่
๔ ห้ามใช้เสียง เอก โท จัตวา นิยมใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี
ตัวอย่างกลอน 8
อตีเตแต่นานนิทานหลัง
|
มีนัครังหนึ่งกว้างสำอางศรี
|
|
ชื่อจัมบากหลากเลิศประเสริฐดี
|
เจ้าธานีมียศกิต์มหิศรา
|
ดำรงภพลบเลิศประเสริฐโลกย์
|
เปนจอมโจกจุลจักรอรรคมหา
|
|
อานุภพปราบเปรื่องกระเดื่องปรา-
|
กฎเดชาเป็นเกษนิเวศน์เวีย
|
|
— กลบทมธุรสวาที , ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปรีชา (เซ่ง)
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น