ฉันทลักษณ์ของกลอนพัฒนาถึงระดับสูงสุดระหว่างสมัยรัชกาลที่
6 และสมัยรัชกาลที่ 7 เนื่องจากเทคโนลียีการพิมพ์ช่วยให้ความรู้ต่างๆ กระจายตัวมากขึ้น
มีการตีพิมพ์ตำราแต่งคำประพันธ์และใช้เป็นแบบเรียนด้วย ทำให้เกิดแบบแผนการประพันธ์ที่อยู่ในกรอบเดียวกัน
ดังนั้น งานกลอนในระหว่าง พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2516 จึงอยู่ในกรอบของฉันทลักษณ์ และพราวด้วยสัมผัสตามตำราอย่างเคร่งครัด
ความคลี่คลายของจำนวนคำและการใช้สัมผัสใน หลัง พ.ศ. 2516 ประเทศอยู่ในภาวะผันผวนทางการเมือง กลอนรูปแบบเดิมไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์
ความรู้สึกแห่งยุคสมัยได้ กวีจึงได้เลือกใช้กลอนที่กำหนดจำนวนคำในวรรคโดยประมาณ
ลดสัมผัสสระมาใช้สัมผัสอักษร ลดความเคร่งครัดเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค
ใช้เสียงหนัก-เบา สั้น-ยาว มาสื่ออารมณ์ความรู้สึก เลือกใช้คำง่าย ๆ แทนโวหารเก่าๆ
ตลอดจนฟื้นฟูฉันทลักษณ์กลอนชาวบ้านมาใช้ในร้อยกรองมากขึ้น เช่น "กินดิน
กินเมือง" ของ ประเสริฐ จันดำ หรือ "เพลงขลุ่ยผิว" ของเนาวรัตน์
พงษ์ไพบูลย์ เป็นต้น
ความคลี่คลายของจังหวะและสัมผัสนอก กวีบางคนเช่น อังคาร
กัลยาณพงศ์ และ ถนอม ไชยวงศ์แก้ว เสนอกลอนที่จำนวนคำและจังหวะในวรรคไม่สม่ำเสมอ ตลอดจนรับสัมผัสไม่สม่ำเสมอทุกวรรค
ตัวอย่าง โลก ดาราจักร และพระพุทธเจ้า ของ อังคาร กัลยาณพงศ์
ณ
เวิ้งวิเวกเอกภพมหึมา
|
และ ณ
ดาราจักรอันหลากหลาย
|
|
จะหาหล้าไหนวิเศษแพร้วพรรณราย
|
ได้ดุจโลกมนุษย์สุดยากนัก
ฯ
|
เกียรติยศ
ลม ไฟ ดิน น้ำ ฟ้า
|
พาหิรากาศห่อหุ้มไว้สูงศักดิ์
|
|
น่าทะนุถนอมค่าทิพย์แท้อนุรักษ์
|
ประโยชน์หนักนั่นไซร้ให้สากล
ฯ
|
ความคลี่คลายด้านรูปแบบ กวีสมัยปัจจุบันเสนอผลงานกลอนหลากหลายรูปแบบ
จัดเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก ยึดฉันทลักษณ์กลอนประเภทต่างๆ
เช่นของเดิม แต่ปรับกลวิธีใช้สัมผัสใน และยืดหยุ่นจำนวนคำ
เป็นการย้อนรอยฉันทลักษณ์ของกลอนยุคก่อนสุนทรภู่ ได้แก่ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์,
สุจิตต์ วงษ์เทศ, ประกาย ปรัชญา, ประเสริฐ จันดำ, ไพรวรินทร์ ขาวงาม เป็นต้น
กลุ่มที่สองใช้เฉพาะสัมผัสนอกเป็นกรอบกำหนดประเภทงานว่าอยู่ในจำพวกกลอน
ส่วนจำนวนคำ กลวิธี และท่วงทำนองอื่น ๆ เป็นไปโดยอิสระ ได้แก่ อังคาร กัลยาณพงศ์,
ถนอม ไชยวงศ์แก้ว, วุธิตา มูสิกะระทวย,
ศักดิ์สิริ มีสมสืบ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น